วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2559
วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ประกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร 28 ธันวาคม 2515
ประกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร
——————
——————
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ได้ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงเหตุการณ์ในบ้านเมืองอันเป็นมาตลอดจนปัจจุบัน ทรงพระราชวิจารณ์เทียบเคียงความเป็นไปในสกสมัยและปรสมัยในทางนิยมแห่งประชาชนพลเมืองเหล่าต่างๆ หลายแบบหลายเหล่าโดยถ้วนถี่ ทรงพระราชดำริเป็นแน่วแน่ในพระราชหฤทัยว่า ฉันใดจะเป็นความผาสุก จะยังให้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งแก่พลเมืองหมู่ใหญ่ ฉันใดจะส่งเสริมธรรมจริยานุวัตรอันควรจะยึดถือเป็นหลักสืบไป ฉันนั้นจักทรงพระอุตสาหะปฏิบัติบรรหารให้เรียบร้อยเป็นยุติธรรม และให้เป็นที่ตั้งแห่งความสามัคคีทั่วหน้า
ก็โดยราชนีติอันมีมาในแผ่นดินนั้น เมื่อสมเด็จพระบรมราชโอรสซึ่งจะทรงรับรัชทายาทสืบราชสันตติวงศ์ทรงพระเจริญวัยสมควรแล้ว ย่อมโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เฉลิมพระอิสริยยศตั้งแต่งไว้ในตำแหน่ง สมเด็จพระยุพราชมกุฎราชกุมาร ในกาลปัจจุบันประชาชนทั้งหลายตลอดถึงชาวต่างประเทศทั่วไปในโลก ย่อมพากันนิยมยกย่องว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ทรงอยู่ในฐานะที่จะรับราชสมบัติปกครองราชอาณาจักรสืบสนองพระองค์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นั้นเล่าก็ทรงพระเจริญพระชนมายุบรรลุนิติภาวะ ทรงพระวีรยภาพและพระสติปัญญาสามารถที่จะรับภาระของแผ่นดินตามพระอิสริยศักดิ์ได้ ถึงสมัยที่จะสถาปนาเป็นองค์รัชทายาทควรจะทรงอนุวัตรให้เป็นไปตามธรรมนิยมและขัตติยราชประเพณี ตามความเห็นชอบเห็นดีของมหาชนและผู้บริหารประเทศทุกฝ่าย เฉลิมพระเกียรติยศให้สมบูรณ์ตามตำแหน่งทุกประการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เฉลิมพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิติยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธ สยามมกุฎราชกุมาร มุสิกนาม พระราชทานพรให้ทรงพระเจริญสิริสวัสดิ์ ทรงมั่นอยู่ในขัตติยราชธรรมทศพิธอันเป็นหลักของผู้ปกครองบ้านเมืองในสยามประเทศนี้ ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย ทั้งบุญญานุภาพแห่งพระสยามเทวาธิราช และเทพดาเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงอภิบาลรักษาให้ทรงวัยวัฒนายุกาล ทรงพรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสมบัติพิพัฒมงคล วิบุลศุภผล สกลเกียรติยศ ปรากฏกฤดาบารมีมโหฬาร ตลอดจิรัฏฐิติกาลเทอญ
ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 เป็นปีที่ 27 ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพลถนอม กิตติขจร
นายกรัฐมนตรี
จอมพลถนอม กิตติขจร
นายกรัฐมนตรี
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
- เส้นผ่าศูนย์กลาง27 มิลลิเมตร
- น้ำหนัก7.5 กรัม
- ลักษณะเหรียญกลม ขอบเฟือง
- วันที่ประกาศใช้21 ธันวาคม พ.ศ.2515
- ชนิดราคา1 บาท
ด้านหน้า
เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวิชราลงกรณ ระดับพระอังสา ทรงเรื่องเต็มยศทหารมหาดเล็ก ผินพระพักตร์เบื้องซ้าย ริมขอบมีข้อความว่า "มหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราช
กุมาร"
เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวิชราลงกรณ ระดับพระอังสา ทรงเรื่องเต็มยศทหารมหาดเล็ก ผินพระพักตร์เบื้องซ้าย ริมขอบมีข้อความว่า "มหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราช
กุมาร"
ด้านหลัง
ผู้ออกแบบด้านหน้า
นายพินิจ สุวรรณะบุณย์ กรมศิลปากร
ผู้ออกแบบด้านหลัง
นายพินิจ สุวรรณะบุณย์ กรมศิลปากร
ผู้ปั้นแบบด้านหน้า
นายบุญส่ง นุชน้อมบุญ กรมศิลปากร
ผู้ปั้นแบบด้านหลัง
นายมนตรี ดีปานวงศ์ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์
ขอบคุณข้อมูลจากกรมธนารักษ์
ประเมินราคาเหรียญกษาปณ์
รูป และบทความต่างๆ ใน Lomacoin Fanpage ,blogger.com , Line , Web , Youtube และอื่นๆ ที่เผยแพร่เราจะพยายามไม่ใส่ลายน้ำบนเหรียญ เพื่อความสวยงามในการรับชม รบกวนใครนำรูปไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Web , Facebook และอื่นๆ ขอความกรุณาใส่เครดิต " Lomacoin " ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 200 ปี เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ชนิดราคา 5 บาท
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 200 ปี เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
กรมธนารักษ์ได้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 200 ปี เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดาเรียม พระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายทับ ซึ่งมีคำว่า “ทับ” เป็นคำไทยโบราณ มีความหมายถึงบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ดังนั้น เมื่อเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดสัญลักษณ์ประจำพระองค์เป็นรูปพระวิมานหรือที่เรียกกันว่าตราปราสาท ดังที่ปรากฏบนเงินตราในสมัยนั้นของพระองค์
ด้่านหน้า
กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพักตร์ตรง ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ พระมหาสังวาลนพรัตน์ ทรงฉลองพระองค์ครุย ชิดวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า “ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ”
กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพักตร์ตรง ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ พระมหาสังวาลนพรัตน์ ทรงฉลองพระองค์ครุย ชิดวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า “ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ”
ด้านหลัง
กลางเหรียญมีตราพระวิมานอันเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ชิดวงขอบเหรียญโดยรอบมีข้อความว่า “ เฉลิมพระเกียรติ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๓๓๐-๒๕๓๐ ประเทศไทย ” “ ๕ บาท ” และมีลายดอกประจำยามคั่นระหว่างข้อความทั้งสอง
หมายเหตุ รูปและสื่อต่างๆ ใน Lomacoin Fanpage ,blogger.com , Line , Web และอื่นๆ ที่เผยแพร่เราจะพยายามไม่ใส่ลายน้ำบนเหรียญ เพื่อความสวยงามในการรับชม รบกวนใครนำรูปไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Web , Facebook และอื่นๆ ขอความกรุณาใส่เครดิต " Lomacoin " ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559
เหรียญ 5 บาท 2540 อันดับ 1 หายากราคาสูง พร้อมจุดสังเกต ความแตกต่าง ๒๕๔๐ กับ ๒๕๕๐
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 5 บาท พ.ศ. 2540 อันดับ 1 หายากราคาสูง
พร้อมจุดสังเกต ความแตกต่าง ๒๕๔๐ กับ ๒๕๕๐
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 5 บาท หลังวัด ( พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร ) ในปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ ผลิตเหรียญแรกเมื่อปี 2531 พร้อมกับเหรียญหัวเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โดยในปี 2531 ได้ใช้งานพร้อมกันทั้งสองแบบ ปีถัดมาจึงเหลือแบบเดียว เป็นเหรียญ 5 บาทหมุนเวียน รุ่นที่ 5 เมื่อถึงปี 2551 จึงมีการผลิตเหรียญให้บางลง ปรับเปลี่ยนมาเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษาปัจจุบัน ความต้องการในตลาดเหรียญสูงสุดที่ปี 2540 เนื่องจากผลิตเพียง 10,600 เหรียญ ทั้งยังมีเหรียญที่จัดเป็นชุด จึงไม่แน่ชัดว่าเหรียญที่ใชัจ่ายหมุนเวียนเป็นเหรียญนี้สักกี่เหรียญ บ้างก็ว่า 600 หลายคนก็บอกหลักพัน อันนี้ผู้เขียนไม่กล้าฟันธง ราคาซื้อขายกันอยู่ที่ 2,000-5000 บาท ( 06.10.2559 ) แล้วแต่ว่าขายตลาดไหน และสภาพเหรียญกี่เปอร์เซ็นต์
ด้านหน้า : ขอบเหรียญวงในเป็นรูปเก้าเหลี่ยม กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย ชิดวงขอบเหรียญด้านซ้ายมีข้อความว่า "ภูมิพลอดุลยเดช" ด้านขวามีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๙"
ด้านหลัง : ขอบเหรียญวงในเป็นรูปเก้าเหลี่ยม กลางเหรียญมีรูปพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เบื้องบนมีข้อความว่า "ประเทศไทย" และปี พ.ศ. ที่จัดทำเหรียญ เบื้องล่างมีข้อความว่า "๕ บาท 5"
น้ำหนัก : 7.5 กรัม | ราคา ณ วันประกาศใช้ : 5 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วันที่ประกาศใช้ : 1 มิถุนายน 2531 | เส้นผ่าศูนย์กลาง : 24 มิลลิเมตร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชนิด : โลหะสีขาวเคลือบไส้ทองแดง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราคาหน้าเหรียญ : 5 บาท | ประเภท : ธรรมดา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลักษณะ : เหรียญกลม วงขอบนอกมีเฟืองจักร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนผสม : | จำนวนการผลิต : | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นางไพฑูรย์ศิริ ณ เชียงใหม่, นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์ | ผู้ออกแบบ (หลัง) : นางสาวปราณี คล้ายเชื้อวงศ์, นายพนม บุญศิลป์, นางสุนันทา ธิกุลวงษ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นางพุทธชาติ อรุณเวช | ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายวุฒิชัย แสงเงิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จุดสังเกตความแตกต่างระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐
ระยะห่าง " พ.ศ. " ไม่เท่ากัน 2540 ห่างกว่า
ตัวเลข พ.ศ. หางเลข ๔ โค้ง เลข ๕ หางตรง
เส้นบนพื้นเหนือเลข " 5 " ไม่เหมือนกัน 2540 เส้นไม่เต็ม
เส้นบนพื้นลากผ่านเลข " ๕ " ไม่เหมือนกัน 2540 เส้นขาดหาย
หมายเหตุ รูปและสื่อต่างๆ ใน Lomacoin Fanpage ,blogger.com , Line , Web และอื่นๆ ที่เผยแพร่เราจะพยายามไม่ใส่ลายน้ำบนเหรียญ เพื่อความสวยงามในการรับชม รบกวนใครนำรูปไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Web , Facebook และอื่นๆ ขอความกรุณาใส่เครดิต " Lomacoin " ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559
8 อันดับ เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนผลิตมากที่สุด เกิน 100 ล้านเหรียญ
8 อันดับ เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนผลิตมากที่สุด เกิน 100 ล้านเหรียญ
1. เหรียญกษาปณ์ ( โลหะสีขาว พ.ศ. 2505 ) ราคา 1 บาท
2. เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ พ.ศ.2500 ชนิดราคา 25 สตางค์
3. เหรียญกษาปณ์ ( โลหะสีขาว พ.ศ. 2520 ) ราคา 1 บาท
4. เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ พ.ศ.2500 ชนิดราคา 50 สตางค์
5. เหรียญกษาปณ์ ( โลหะสีขาว พ.ศ. 2525 ) ราคา 1 บาท
6. เหรียญกษาปณ์ ( โลหะสีขาว พ.ศ. 2517 ) ราคา 1 บาท
7. เหรียญกษาปณ์ชนิดทองเหลือง พ.ศ.2520 ชนิดราคา 25 สตางค์
8. เหรียญกษาปณ์ชนิดทองเหลือง พ.ศ.2523 ชนิดราคา 50 สตางค์
หมายเหตุ รูปและสื่อต่างๆ ใน Lomacoin Fanpage ,blogger.com , Line , Web และอื่นๆ ที่เผยแพร่เราจะพยายามไม่ใส่ลายน้ำบนเหรียญ เพื่อความสวยงามในการรับชม รบกวนใครนำรูปไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Web , Facebook และอื่นๆ ขอความกรุณาใส่เครดิต " Lomacoin " ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559
เหรียญ 1 บาท 2520 ย ยักษ์ ยิ้ม
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2520 ด้านหลังรูปเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นเหรียญ 1 บาท ลำดับที่ 4 ในรัชกาลที่ 9 เป็นโลหะสีขาว คิวโปรนิกเกิล(ทองแดงผสมนิกเกิล) จำนวนผลิต 506,460,000 เหรียญ เนื่องจากมีปริมาณมากพอสมควรถึงจะผ่านมาเกือบ 40 ปีแล้ว ก็ยังมีนักสะสมจำนวนมากที่มีไว้ครอบครอง สนนราคาแลกเปลี่ยนจึงไม่แพงมาก สภาพเก่าราคา 2-10 บาท ใหม่ 5-20 บาท แต่ไม่นานมานี้มีการค้นพบพิมพ์ใหม่ ซึ่งมีการตั้งชื่อว่า พิมพ์ " ย.ยักษ์ ยิ้ม " ( บางทีใช้เป็น ย.ยักษ์เขี้ยวใหญ่ ) แอดมินเห็นว่าเข้าท่าดีจึงขออนุญาตผู้ที่คิดชื่อใช้ตามนี้เลยนะครับ โดยพิมพ์นี้ที่ตัว ย.ยักษ์ หลังสุด ของคำว่า " ประเทศไทย " ซึ่งประทับบนหน้าเหรียญ หยักที่ " ย " จะเป็นแบบโค้งยามคล้ายรอยยิ้ม
โดยจากการสุ่มของแอดมินเอง พบว่า จากเหรียญ 1,000 เหรียญ จะพบเพียง 1 เหรียญ จึงถือว่าหายากพอสมควรทีเดียว ( พู่สั้น 100 เหรียญพบ 3 เหรียญ ) สนนราคาในการแลกเปลี่ยนให้ไว้ที่ 50-150 บาท โดยเทียบกับโอกาสที่ได้พบเจอ
เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว(ทองแดงผสมนิกเกิล) พระบรมรูป-เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ พ.ศ. 2520 ราคา 1 บาท
ด้านหน้า : เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ระดับพระอังสา ผินพระพักตร์เบื้องซ้าย ริมขอบซ้ายมีข้อความว่า " ประเทศไทย " ริมขอบขวาว่า " รัชกาลที่ ๙ "
ด้านหลัง : เป็นรูปเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ หันหัวเรือไปทางซ้าย เบื้องหลังเป็นรูปพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เบื้องบนขวามีปีพุทธศักราชที่ผลิต " พ.ศ.๒๕๒๐ " ถัดลงมามีเลขไทยและข้อความบอกราคา " ๑บาท "
ข้อมูลเพิ่มเติม | |||||||
น้ำหนัก : 7 กรัม | ราคา ณ วันประกาศใช้ : 1 บาท | ||||||
วันที่ประกาศใช้ : 21 ธันวาคม 2519 | เส้นผ่าศูนย์กลาง : 25 มิลลิเมตร | ||||||
ชนิด : โลหะสีขาวเคลือบไส้ทองแดง | |||||||
ราคาหน้าเหรียญ : 1 บาท | ประเภท : - | ||||||
ลักษณะ : เหรียญกลม ขอบเฟือง | |||||||
ส่วนผสม : | จำนวนการผลิต : | ||||||
| 506,460,000 เหรียญ | ||||||
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ | ผู้ออกแบบ (หลัง) : นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ | ||||||
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายมนตรี ดีปานวงศ์ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ | ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายวินัย ชโลกุล กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ | ||||||
ขอบพระคุณข้อมูลดีๆจาก http://business.treasury.go.th/coininfo/detail.php?id=671&gid=4
หมายเหตุ รูปและสื่อต่างๆ ใน Lomacoin Fanpage ,blogger.com , Line , Web และอื่นๆ ที่เผยแพร่เราจะพยายามไม่ใส่ลายน้ำบนเหรียญ เพื่อความสวยงามในการรับชม รบกวนใครนำรูปไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Web , Facebook และอื่นๆ ขอความกรุณาใส่เครดิต " Lomacoin " ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)