วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ครม.เห็นชอบเปลี่ยน พระบรมรูปในหลวง บน 'เหรียญกษาปณ์' [8 ส.ค. 50 - 02:58]

ครม.เห็นชอบเปลี่ยน พระบรมรูปในหลวง บน 'เหรียญกษาปณ์' [8 ส.ค. 50 - 02:58]

การปรับเปลี่ยนรูปที่ด้านหน้าเหรียญกษาปณ์ทุกชนิด จากเดิมที่เคยใช้พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2530 มาเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษาปัจจุบันครั้งนี้ นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยเมื่อวันที่ 7 ส.ค.ว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบ ตาม ที่กระทรวงการคลังเสนอเปลี่ยนรูปแบบเหรียญด้านหน้าทุกชนิดราคา ซึ่งเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2530 มาเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษาปัจจุบัน

โดยกรมธนารักษ์จะประสานกับสำนักราชเลขาธิการ เพื่อขอให้นำความกราบบังคมทูล ขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาตรูปแบบและคำบรรยายของลวดลายด้านหน้าเหรียญก่อนดำเนินการออกกฎกระทรวง การออกใช้เหรียญกษาปณ์ชุดใหม่ทั้ง 9 ชนิดราคาต่อไป อีกทั้งจะได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนโลหะของเหรียญกษาปณ์ ชนิดราคา 1 สตางค์ 5 สตางค์ 10 สตางค์ 25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 2 บาท และปรับเปลี่ยนเส้นผ่าศูนย์กลาง ของเหรียญกษาปณ์ชนิดราคา 5 สตางค์ ให้แตกต่างจากชนิด 25 สตางค์ รวมทั้งปรับเปลี่ยนน้ำหนักของเหรียญชนิดราคา 1 บาท จาก 3.4 กรัม เป็น 3 กรัม และชนิด 2 บาท และ 5 บาท น้ำหนักเปลี่ยนจาก 4.4 กรัม เป็น 4 กรัม และ 7.5 กรัม เป็น 6 กรัมตามลำดับ

ทั้งนี้ กรมธนารักษ์ได้ผลิตเหรียญกษาปณ์ออกมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ รวม 9 ชนิดราคา ตั้งแต่ปี 2530 จำนวน 8 ชนิดราคา ได้แก่ ชนิดราคา 10 บาท 5 บาท 50 สตางค์ 25 สตางค์ 10 สตางค์ 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ นำออกใช้เพิ่มเติมอีก 1 ชนิดราคา ในปี 2548 ได้แก่ชนิด 2 บาท แต่เนื่องจากราคาโลหะในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นมาก จึงจำเป็นต้องทบทวน เพื่อปรับปรุงคุณลักษณะเฉพาะของเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ให้มีต้นทุนที่เหมาะสม โดยมีเหรียญยังคงใช้งานได้มีประสิทธิภาพ ทั้งการใช้ หมุนเวียนตามปกติและการใช้งานกับเครื่องหยอดเหรียญ นอกจากนั้น เหรียญชนิดราคา 1 บาท มีหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากที่สุดถึง 56% หรือประมาณปีละ 1,200 ล้านเหรียญ การเปลี่ยนเทคโนโลยีหรือโลหะที่ใช้ในการผลิตเหรียญแต่ละชนิดราคาให้เหมาะสม จะช่วยลดต้นทุนค่าโลหะได้ด้วย โดยการปรับเปลี่ยนครั้งนี้จะช่วยลดภาระ กรมธนารักษ์ในการผลิตเหรียญหมุนเวียนได้ปีละ 1,900 ล้านบาท จากในปัจจุบันที่ต้องแบกภาระขาดทุนจากการผลิตเหรียญปีละ 1,100 ล้านบาท

นายโชติชัยกล่าวด้วยว่า จากการศึกษาเพื่อปรับ ปรุงเหรียญกษาปณ์ของกรมธนารักษ์และผู้เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่าโลหะที่เห็นว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมในการผลิตเหรียญ กษาปณ์ชุดใหม่ มีดังนี้ กลุ่มแรก ชนิดราคา 1 สตางค์ 5 สตางค์ และ 10 สตางค์ ควรใช้โลหะอะลูมิเนียมบริสุทธิ์ ให้สอดคล้องกับกระบวนการผลิตของกรมธนารักษ์ เนื่อง จากปริมาณความต้องการน้อยมาก จึงต้องผลิตเอง และกลุ่มที่สอง ชนิดราคา 25 สตางค์ 50 สตางค์ ควรผลิตจากโลหะ ไส้เหล็กชุบทองแดง กลุ่มที่สาม ชนิด 1 บาท ควรผลิตจากโลหะไส้เหล็กชุบนิกเกิล เนื่องจากเป็นโลหะที่ต้นทุนต่ำสุด ยังสามารถใช้ได้กับเครื่องหยอดเหรียญเหมือนเดิม ชนิดราคา 2 บาท เปลี่ยนเป็นโลหะสีเหลือง เพื่อให้แยก ความแตกต่างของเหรียญได้ชัดเจน ซึ่งโลหะที่เหมาะสมคือ โลหะผลมอะลูมิเนียมบรอนซ์ และชนิด 5 บาทจะใช้ โลหะคิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดงเช่นเดิม แต่ปรับลดน้ำหนักลง กลุ่มที่สี่ ชนิดราคา 10 บาท ควรผลิตจากโลหะ สองสี วงนอกเป็นสีขาว จากโลหะผสมโปรนิกเกิล และวงในเป็นสีเหลืองจากโลหะผสมอะลูมิเนียมบรอนซ์เช่นเดิม


http://www.thairath.co.th/offline.php?section=hotnews&content=56720 ค้ดลอกมาจาก http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=maratee1&topic=1606

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น