หมายเหตุ รูปและสื่อต่างๆ ใน Lomacoin Fanpage ,blogger.com , Line , Web และอื่นๆ ที่เผยแพร่เราจะพยายามไม่ใส่ลายน้ำบนเหรียญ เพื่อความสวยงามในการรับชม รบกวนใครนำรูปไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Web , Facebook และอื่นๆ ขอความกรุณาใส่เครดิต " Lomacoin " ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559
วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ครม.เห็นชอบเปลี่ยน พระบรมรูปในหลวง บน 'เหรียญกษาปณ์' [8 ส.ค. 50 - 02:58]
ครม.เห็นชอบเปลี่ยน พระบรมรูปในหลวง บน 'เหรียญกษาปณ์' [8 ส.ค. 50 - 02:58]
การปรับเปลี่ยนรูปที่ด้านหน้าเหรียญกษาปณ์ทุกชนิด จากเดิมที่เคยใช้พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2530 มาเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษาปัจจุบันครั้งนี้ นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยเมื่อวันที่ 7 ส.ค.ว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบ ตาม ที่กระทรวงการคลังเสนอเปลี่ยนรูปแบบเหรียญด้านหน้าทุกชนิดราคา ซึ่งเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2530 มาเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษาปัจจุบัน
โดยกรมธนารักษ์จะประสานกับสำนักราชเลขาธิการ เพื่อขอให้นำความกราบบังคมทูล ขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาตรูปแบบและคำบรรยายของลวดลายด้านหน้าเหรียญก่อนดำเนินการออกกฎกระทรวง การออกใช้เหรียญกษาปณ์ชุดใหม่ทั้ง 9 ชนิดราคาต่อไป อีกทั้งจะได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนโลหะของเหรียญกษาปณ์ ชนิดราคา 1 สตางค์ 5 สตางค์ 10 สตางค์ 25 สตางค์ 50 สตางค์ 1 บาท 2 บาท และปรับเปลี่ยนเส้นผ่าศูนย์กลาง ของเหรียญกษาปณ์ชนิดราคา 5 สตางค์ ให้แตกต่างจากชนิด 25 สตางค์ รวมทั้งปรับเปลี่ยนน้ำหนักของเหรียญชนิดราคา 1 บาท จาก 3.4 กรัม เป็น 3 กรัม และชนิด 2 บาท และ 5 บาท น้ำหนักเปลี่ยนจาก 4.4 กรัม เป็น 4 กรัม และ 7.5 กรัม เป็น 6 กรัมตามลำดับ
ทั้งนี้ กรมธนารักษ์ได้ผลิตเหรียญกษาปณ์ออกมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ รวม 9 ชนิดราคา ตั้งแต่ปี 2530 จำนวน 8 ชนิดราคา ได้แก่ ชนิดราคา 10 บาท 5 บาท 50 สตางค์ 25 สตางค์ 10 สตางค์ 5 สตางค์ และ 1 สตางค์ นำออกใช้เพิ่มเติมอีก 1 ชนิดราคา ในปี 2548 ได้แก่ชนิด 2 บาท แต่เนื่องจากราคาโลหะในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นมาก จึงจำเป็นต้องทบทวน เพื่อปรับปรุงคุณลักษณะเฉพาะของเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ให้มีต้นทุนที่เหมาะสม โดยมีเหรียญยังคงใช้งานได้มีประสิทธิภาพ ทั้งการใช้ หมุนเวียนตามปกติและการใช้งานกับเครื่องหยอดเหรียญ นอกจากนั้น เหรียญชนิดราคา 1 บาท มีหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากที่สุดถึง 56% หรือประมาณปีละ 1,200 ล้านเหรียญ การเปลี่ยนเทคโนโลยีหรือโลหะที่ใช้ในการผลิตเหรียญแต่ละชนิดราคาให้เหมาะสม จะช่วยลดต้นทุนค่าโลหะได้ด้วย โดยการปรับเปลี่ยนครั้งนี้จะช่วยลดภาระ กรมธนารักษ์ในการผลิตเหรียญหมุนเวียนได้ปีละ 1,900 ล้านบาท จากในปัจจุบันที่ต้องแบกภาระขาดทุนจากการผลิตเหรียญปีละ 1,100 ล้านบาท
นายโชติชัยกล่าวด้วยว่า จากการศึกษาเพื่อปรับ ปรุงเหรียญกษาปณ์ของกรมธนารักษ์และผู้เกี่ยวข้อง สรุปได้ว่าโลหะที่เห็นว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมในการผลิตเหรียญ กษาปณ์ชุดใหม่ มีดังนี้ กลุ่มแรก ชนิดราคา 1 สตางค์ 5 สตางค์ และ 10 สตางค์ ควรใช้โลหะอะลูมิเนียมบริสุทธิ์ ให้สอดคล้องกับกระบวนการผลิตของกรมธนารักษ์ เนื่อง จากปริมาณความต้องการน้อยมาก จึงต้องผลิตเอง และกลุ่มที่สอง ชนิดราคา 25 สตางค์ 50 สตางค์ ควรผลิตจากโลหะ ไส้เหล็กชุบทองแดง กลุ่มที่สาม ชนิด 1 บาท ควรผลิตจากโลหะไส้เหล็กชุบนิกเกิล เนื่องจากเป็นโลหะที่ต้นทุนต่ำสุด ยังสามารถใช้ได้กับเครื่องหยอดเหรียญเหมือนเดิม ชนิดราคา 2 บาท เปลี่ยนเป็นโลหะสีเหลือง เพื่อให้แยก ความแตกต่างของเหรียญได้ชัดเจน ซึ่งโลหะที่เหมาะสมคือ โลหะผลมอะลูมิเนียมบรอนซ์ และชนิด 5 บาทจะใช้ โลหะคิวโปรนิกเกิลสอดไส้ทองแดงเช่นเดิม แต่ปรับลดน้ำหนักลง กลุ่มที่สี่ ชนิดราคา 10 บาท ควรผลิตจากโลหะ สองสี วงนอกเป็นสีขาว จากโลหะผสมโปรนิกเกิล และวงในเป็นสีเหลืองจากโลหะผสมอะลูมิเนียมบรอนซ์เช่นเดิม
http://www.thairath.co.th/offline.php?section=hotnews&content=56720
ค้ดลอกมาจาก
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=maratee1&topic=1606
เหรียญ 1 บาท ปี 2529 ช่อฟ้ายาว เหรียญบาทรุ่นที่ใช้กันอยู่ราคาสูงที่สุด
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 1 บาท เหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ด้านหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เริ่มใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529 เมื่อถึงปี 2552 จึงมีปรับเปลี่ยนมาเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษาปัจจุบันการผลิตเป็นแบบเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ไส้เหล็กชุบนิกเกิล)
ในปีแรก พ.ศ. 2529 ผลิตเพียง 4.2 ล้านเหรียญ เป็นปีที่ผลิตน้อยที่สุด รวมทั้งหมดถึงปี 2551 เหรียญแบบแรกมีการผลิตมาแล้วมากกว่าหนึ่งหมื่นล้านเหรียญ ประมาณว่าถ้าสุ่มเหรียญบาท 10,000 เหรียญจะเจอเหรียญปี 2529 เพียง 4 เหรียญ ยิ่งนานปีมีคนเริ่มสะสมมากขึ้นเรื่อย สูญหายบ้าง โอกาสที่จะได้รับเงินทอนเป็นเหรียญ 1 บาท ปี 2529 แทบเป็นไปไม่ได้ ( น้อยกว่า 0.004 % ) แต่ยังไม่ใช่แค่นั้นในจำนวน 4.2 ล้านเหรียญ ยังแบ่งเป็น 2 แบบ คือที่เป็น ช่อฟ้าสั้น และ ช่อฟ้ายาว นักสะสมฟันธงว่าช่อฟ้ายาวน้อยกว่า แต่จะน้อยกว่าเท่าไรผู้เขียนไม่อาจทราบได้
นอกจากนี้เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 1 บาท พ.ศ. 2529 ช่อฟ้ายาว ยังถูกยกให้เป็นลำดับ 8 จาก " ๑๐ ลำดับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนหายาก รัชกาลที่ ๙ " ที่จัดลำดับโดย อ.อรรณพ แก้วปทุมทิพย์ ทำให้สนนราคาในการซื้อขายหรือการประมูล ราคาของเหรียญสองแบบนี้จึงแตกต่างกัน โดยหนึ่งบาทช่อฟ้าสั้นในเดือน พฤษภาคม 2558 ซื้อขายกันที่เหรียญละ 150-250 บาท ช่อฟ้ายาวอยู่ที่ 600-900 บาท
เหรียญ 1 บาท 2551 ปีสุดท้ายที่ยังคงเป็นแบบเดียวกับปี 2529
เหรียญ 1 บาท 2552 ปรับเปลี่ยนมาเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระชนมพรรษาปัจจุบัน
ด้านหน้า : กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย ชิดวงขอบเหรียญด้านซ้ายมีข้อความว่า " ภูมิพลอดุลยเดช " ด้านขวามีข้อความว่า " รัชกาลที่ ๙ "
ด้านหลัง : มีรูปพระศรีรัตนเจดีย์วัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง ด้านขวามีข้อความว่า " ประเทศไทย " ปี พ.ศ. ที่จัดทำเหรียญ และข้อความบอกราคาว่า " ๑ " " 1 บาท "
น้ำหนัก : 3.4 กรัม ราคา ณ วันประกาศใช้ : 1 บาท
วันที่ประกาศใช้ : 8 สิงหาคม 2529 เส้นผ่าศูนย์กลาง : 20 มิลลิเมตร
ชนิด : โลหะสีขาว
ราคาหน้าเหรียญ : 1 บาท ประเภท : ธรรมดา
ลักษณะ : เหรียญกลม วงขอบนอกมีเฟืองจักร
ส่วนผสม :
ชื่อส่วนผสม ร้อยละ
นิกเกิล 25
ทองแดง 75
ปีที่ผลิต จำนวน
2529 4,200,000 เหรียญ
2530 329,471,000 เหรียญ
2531 391,442,000 เหรียญ
2532 466,684,000 เหรียญ
2533 409,924,000 เหรียญ
2534 329,946,380 เหรียญ
2535 426,230,000 เหรียญ
2536 235,623,000 เหรียญ
2537 475,200,000 เหรียญ
2538 589,394,650 เหรียญ
2539 98,487,000 เหรียญ
2540 350,660,600 เหรียญ
2541 25,252,000 เหรียญ
2542 224,389,000 เหรียญ
2543 468,610,000 เหรียญ
2544 385,140,000 เหรียญ
2545 266,025,000 เหรียญ
2546 236,533,000 เหรียญ
2547 903,964,000 เหรียญ
2548 1,137,820,000 เหรียญ
2549 778,061,000 เหรียญ
2550 614,866,877 เหรียญ
2551 660,307,123 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์
ผู้ออกแบบ (หลัง) : นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นางพุทธชาติ อรุณเวช
ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : วุฒิชัย แสงเงิน
รูป และบทความต่างๆ ใน Lomacoin Fanpage ,blogger.com , Line , Web , Youtube และอื่นๆ ที่เผยแพร่เราจะพยายามไม่ใส่ลายน้ำบนเหรียญ เพื่อความสวยงามในการรับชม รบกวนใครนำรูปไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Web , Facebook และอื่นๆ ขอความกรุณาใส่เครดิต " Lomacoin " ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559
กดธนบัตร 500 บาท พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ จากตู้ ATM
กดธนบัตร 500 บาท พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ จากตู้ ATM
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย( ธปท.) เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดพิมพ์ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 และน้อมนำจิตใจของปวงชนชาวไทยให้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงบำเพ็ญพระ ราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติเป็นอเนกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านศิลปวัฒนธรรมไทยและการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเป็นธนบัตรชนิดราคา 500บาท มีขนาดสี และลักษณะด้านหน้าเช่นเดียวกั บธนบัตรชนิดราคา 500 บาท แบบ 16 ที่ออกใช้หมุนเวียนในปัจจุบัน
โดยภาพด้านหลังธนบัตรเป็ นภาพพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็ จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ฉลองพระองค์ชุดไทยและมี พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมพระราชโอรสและพระราชธิดา พร้อมทั้งมีภาพพรรณไม้ ในพระนามาภิไธย คัทลียาควีนสิริกิติ์และกุ หลาบควีนสิริกิติ์เป็นภาพประกอบ
นอกจากนี้ ธนบัตรที่ระลึกฯนี้ยังมีลั กษณะต่อต้านการปลอมแปลง จัดทำขึ้นพิเศษโดยลายรัศมีสีส้มหลังพระฉายาสาทิ สลักษณ์และภาพกุหลาบควีนสิริกิ ติ์ เมื่อส่องภายใต้รังสีเหนือม่ วงส่วนที่พิมพ์ด้วยหมึกพิเศษสี ส้มจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเรื องแสง
สำหรับธนบัตรที่ระลึกฯ จัดพิมพ์ขึ้ นจำนวน 20 ล้านฉบับเท่านั้น สามารถจ่ายแลกได้ตั้งแต่ 11 สิงหาคม 2559 ที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย รวมถึงยังเพิ่มโอกาสให้ ปนะชาชนสามารถเข้าถึงได้ สะดวกมากขึ้นผ่านตู้เงินสดอั ตโนมัติเฉพาะหน้าสาขาธนาคารที่ มีสัญลักษณ์ที่กำหนดเท่านั้ นโดยต้องระบุยอดถอน 500 บาท หากมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น ธปท. พร้อมที่จะจัดพิมพ์ธนบัตรที่ ระลึกฯนี้เพิ่ม
ภาพด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์
ภาพด้านหลัง พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นภาพประธาน โดยมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมพระราชโอรสและพระราชธิดาเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขณะทอดพระเนตรผลงานศิลปาชีพ ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติฯ ภาพโขนพระราชทาน ชุด จองถนน ภาพกระเป๋าย่านลิเภาซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ และภาพพรรณไม้ในพระนามาภิไธย คัทลียาควีนสิริกิติ์และกุหลาบควีนสิริกิติ์
ลักษณะต่อต้านการปลอมแปลง
ลายรัศมีเบื้องหลังพระฉายาสาทิสลักษณ์และภาพกุหลาบควีนสิริกิติ์
ในส่วนที่พิมพ์ด้วยหมึกพิเศษสีส้ม ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเรืองแสง
เมื่อส่องภายใต้ รังสีเหนือม่วง
ที่มา การเงินธนาคาร
http://www.moneyandbanking.co.th/new/?p=5802
http://www.moneyandbanking.co.th/new/?p=5802
วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ประเมิน ราคาเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2500 - 2525
ประเมิน ราคาเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2500 - 2525
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2493 ( เหรียญตัวอย่าง )
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2500
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2505 ( เหรียญตัวอย่าง )
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2505
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2517
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2520 ( ภู่ยาว )
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2520 ( ภู่สั้น )
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2525 ( พระเศียรเล็ก )
ภาพขยายรหัสในนกวายุภักษ์ บนเหรียญ 1 บาท พ.ศ. 2525
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2525 ( รหัส ๒๕ )
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2525 ( รหัส ๒๕ ๒๖ ๒๗ ๒๘ )
ขอขอบคุณ รูปเหรียญตัวอย่างจากร้าน
ร้านราชวัตรวัตถุโบราณ
ร้านแบงค์โบราณ
ร้านราชวัตรวัตถุโบราณ
ร้านแบงค์โบราณ
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เหรียญ 1 บาท พ.ศ. 2505 ราคาหลักแสน จริงหรือไม่ ?
มีไหม เหรียญ 1 บาท ราคา 1 แสน ?
ตอบว่ามีครับเหรียญที่ว่ากันว่าเป็น " เหรียญตัวอย่าง " ซึ่ง แอดมิน ได้เห็นรูปผ่านตาแค่ 4 เหรียญ ประมาณว่าน่าจะอยู่ในหมู่นักสะสมไม่เกินร้อยเหรียญ น้อยกว่าพิมพ์ปกติที่มีจำนวนการผลิต 883,086,000 เหรียญ ลักษณะรูปประทับพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคนละแบบ ตัวหนังสือเหมือนกันแต่วางตำแหน่งไม่ตรงกับ
ด้านหน้า แบบธรรมดา พระนาม " ภูมิพลอดุลยเดช " และ " รัชการที่ ๙ " โค้งต่อกับรอบพระบรมรูป ส่วนเหรียญตัวอย่าง อักษร " รัชการที่ ๙ " อยู่เบื้องบน พระนาม " ภูมิพลอดุลยเดช " อยู่เบื้องล่าง
ด้านหลัง จุดสังเกตชัดเจนอีกที่คือตำแหน่งของตราแผ่นดินที่พระมหาพิชัยมงกุฎ ในพิมพ์ปกติส่วนปลาย อยู่ระหว่าง คำว่า " รัฐบาลไทย " และ " พ.ศ.๒๕๐๕ " สำหรับพิมพ์ตัวอย่าง ส่วนยอดพระมหาพิชัยมงกุฎ ตรงกับอักษร " ย " ของคำว่า รัฐบาลไทย
เหรียญบน 3-40 บาท ล่าง 50,000-150,000 บาท
ขอบคุณ คุณ ทิพวรรณ ราชวัตรวัตถุโบราณ เอื้อเฟื้อรูปเหรียญครับ
ขอบคุณ คุณ ทิพวรรณ ราชวัตรวัตถุโบราณ เอื้อเฟื้อรูปเหรียญครับ
หมายเหตุ รูปและสื่อต่างๆ ใน Lomacoin Fanpage ,blogger.com , Line , Web และอื่นๆ ที่เผยแพร่เราจะพยายามไม่ใส่ลายน้ำบนเหรียญ เพื่อความสวยงามในการรับชม รบกวนใครนำรูปไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Web , Facebook และอื่นๆ ขอความกรุณาใส่เครดิต " Lomacoin " ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)