วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย ชนิดราคา 10 บาท


เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย ชนิดราคา 10 บาท
10 Baht (50th Anniversary of Bank of Thailand)

ธนาคารแห่งประเทศไทยขอความร่วมมือให้กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2535
เมื่อประเทศไทยเปิดประตูการค้ากับประเทศต่าง ๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเปิดรับประเทศทางตะวันตกในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีผลทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีความต้องการบริการทางด้านการเงินเพิ่มมากขึ้นโดยลำดับ แต่สถาบันการเงินที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นเป็นของคนต่างชาติเกือบทั้งนั้น มีกิจการทางการเงินที่คนไทยดำเนินการอยู่บ้าง แต่มีคนต่างชาติเป็นหุ่นส่วนอยู่ด้วยแทบทั้งสิ้น ผลประโยชน์จึงตกเป็นของคนต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ 

มาในปี พ.ศ. 2482 เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจไปทั่วโลกรวมทั้งสถาบันการเงินในประเทศไทยด้วย จากภาวะดังกล่าวมีส่วนผลักดันให้กระทรวงการคลังจัดตั้งสำนักงานธนาคารแห่งชาติไทยขึ้น เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ทั้งนี้เพื่อเตรียมขั้นตอนในการจัดตั้งธนาคารกลางต่อไปในอนาคต และเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยญี่ปุ่นได้ยกทัพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เพื่อใช้เป็นฐานทัพสำหรับต่อสู้กับประเทศทางตะวันตก รัฐบาลเกรงว่าญี่ปุ่นจะเข้าแทรกแซงกิจการด้านการเงิน จึงได้เร่งดำเนินการเปลี่ยนสถานะสำนักงานฯ เป็นธนาคารแห่งประเทศไทย ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศให้พ้นจากการคุกคามของญี่ปุ่น

ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินกิจการในฐานะธนาคารกลาง มีหน้าที่รับผิดชอบในการออกธนบัตร และดำเนินการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนแนวนโยบายด้านการเงินและเศษฐกิจของรัฐ ประกอบกิจการธนาคาร โดยการให้บริการแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงินต่าง ๆ พร้อมทั้งกำกับดูแลสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อให้มีความมั่นคงและเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเป็นตัวแทนทางการเงินและที่ปรึกษาทางการเงินแก่รัฐบาลด้วย             



เส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร

น้ำหนัก 15 กรัม

ลักษณะ เหรียญกลม วงขอบนอกมีเฟืองจักร

วันที่ประกาศใช้ 21 มกราคม พ.ศ.2536

ชนิดราคา 10 บาท

ส่วนผสม : 

ชื่อส่วนผสม ร้อยละ
ทองแดง 75 นิกเกล 25
จำนวนการผลิต : 700,000 
ปีที่ผลิต 2536
ผู้ออกแบบด้านหน้า ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับปรุงแบบโดยกลุ่มศิลปกรรม สำนักกษาปณ์
ผู้ออกแบบด้านหลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับปรุงแบบโดยกลุ่มศิลปกรรม สำนักกษาปณ์
ผู้ปั้นแบบด้านหน้า  นางพุทธชาติ อรุณเวช
ผู้ปั้นแบบด้านหลัง นายวุฒิชัย แสงเงิน




ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมิ­นทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงฉลองพระองค์จอมพลทหารบก ทรงสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโ­บราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ และสายสร้อยแห่งเครื่องขัตติยราชอิสริยภรณ­์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรม­ราชวงค์ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงกุณฑลระย้าเพชร ทรงฉลองพระองค์ชุดไทยสะพักสไบกรองทองปักลา­ย ทรงสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโ­บราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ประดับเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๙ พระพักต์ตรง ด้านซ้ายมีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร" ภาตใต้พระมหามงกุฎ ด้านขวามีอักษรพระนามาภิไธยย่อ "สก " ภายใต้มงกุฎขัตติยราชนารี



ด้านหลัง กลางเหรียญมีเครื่องหมายของธนาคารแห่งประเ­ทศไทย ชิดวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความ " ๕๐ ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย ๑๐ ธันวาคม ๒๕๓๕" เบื้องล่างมีข้อความว่า "ประเทศไทย" และข้อความบอกราคา โดยมีลายดอกประจำยามคั่นระหว่างข้อความเบื­้องบนและเบื้องล่างทั้งสองข้าง

เหรียญนี้ถือว่าเป็นเหรียญนิยม ( ตัวติด ) ในรุ่นเหรียญ 10 บาท นิเกิล ถึงแม้ว่ามีการผลิตถึง 700,000 เหรียญ ถือว่ามากพอสมควร ที่เหรียญนี้เป็นเหรียญนิยม @MiN คิดว่าน่าจะมาจาก ด้านก้อยเป็น ตราธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เป็นพระรูปพระสยามเทวาธิราช ซึ่งเป็นศิริมงคลแก่ผู้มีไว้ ( ตราธนาคารแห่งประเทศไทย คือ พระสยามเทวาธิราชในเหรียญเสี้ยว อัฐ โสฬส ที่ออกใช้ในรัชการที่ 5 มาดัดแปลง และเพิ่มถุงเงินในพระหัตถ์เบื้องขวา ซึ่งเป็นเครื่องหมายถึงผู้คุมถุงเงินของชาติ อันเป็นหน้าที่หลักของธนาคารแห่งประเทศไทย พระแสงธารพระกรในพระหัตถ์ซ้าย เพื่อคอยปัดป้องผู้ที่มารุกราน แต่ได้เปลี่ยนตอนปลายจากรูปดอกไม้มาเป็นลายดอกบัว ) จุดพิเศษที่นักสะสมสังเกตเห็นคือ เหรียญนี้ด้านก้อยมี 2 พิมพ์ คือ คฑา ยาว-สั้น โดย คฑาสั้นหายากกว่าคฑายาว ( พระแสงธารพระกร ) 








 ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากกรมธนารักษ์ 

รูป ใน Lomacoin Fanpage ,blogger.com , Line , Web และอื่นๆ ที่เผยแพร่เราจะพยายามไม่ใส่ลายน้ำบนเหรียญ เพื่อความสวยงามในการรับชม รบกวนใครนำรูปไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Web , Facebook และอื่นๆ ขอความกรุณาใส่เครดิต " Lomacoin " ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น