วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ๑๕๐ ปี โรงกษาปณ์ ชนิดราคา ๕๐ บาท พ.ศ.2553


เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ๑๕๐ ปี โรงกษาปณ์ ชนิดราคา ๕๐ บาท พ.ศ.2553 


เพื่อเป็นที่ระลึกและน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงโปรดให้ก่อตั้งโรงกษาปณ์สิทธิการ ซึ่งเป็นโรงกษาปณ์แห่งแรกที่ตั้งขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ในปี พ.ศ. ๒๔๐๓ เพื่อผลิตเงินเหรียญแบนตามลักษณะสากลนิยม ส่งผลให้โรงกษาปณ์มีบทบาทความสำคัญต่อระบบเงินตราและเศรษฐกิจของประเทศสืบเนื่องมาเป็นเวลานาน และมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ จวบจนรัชสมัยรัชกาลปัจจุบัน








เส้นผ่าศูนย์กลาง 36 มิลลิเมตร
น้ำหนัก 21 กรัม
ลักษณะ เหรียญกลม วงขอบนอกมีเฟืองจักร
วันที่ประกาศใช้ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2553
ชนิดราคา 50

ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ทรงฉลองพระองค์สักหลาดพื้นดำปักดิ้นทอง ทรงพระมหาสังวาลนพรัตนราชวราภรณ์ ประดับดาราไอราพตดารานพรัตน ทรงสายสพายพร้อมดาราเครื่องราชย์อิสริยาภรณ์ลอดร์นาซิยอนาลเดอลาเลฌียงดอเนอร์ (L' Ordre National de la Legion d' Honneur) ชั้นกร็องครัว (Grand Croix) ของฝรั่งเศส และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ทรงสายสะพายและสายสร้อยแห่งเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ประดับดาราจักรีและสายสร้อยจุลจอมเกล้า ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า "พระบามสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช"

ด้านหลัง กลางเหรียญมีรูปโรงกษาปณ์ปัจจุบันเบื้องบนรูปโรงกษาปณ์ปัจจุบันมีข้อความว่า "โรงกษาปณ์" เบื้องล่างมีข้อความว่า "ประเทศไทย" โดยมีลายดอกประจำยามคั่นระหว่างข้อความเบื้องบนกับเบื้องล่าง โดยรอบรูปโรงกษาปณ์ปัจจุบันมีรูปโรงกษาปณ์แห่งแรก โรงกษาปณ์แห่งที่สอง โรงกษาปณ์แห่งที่สาม และโรงกษาปณ์แห่งที่สี่ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อคววามว่า "๑๕๐ ปี" เบื้อล่างมีข้อความบอกราคาว่า "๕๐ บาท" ด้านขวามีข้อความว่า "พ.ศ.๒๔๐๓" ด้านซ้ายมีข้อความว่า "พ.ศ.๒๕๕๓"


ส่วนผสม :
ชื่อส่วนผสมร้อยละ
ทองแดง75
นิกเกิล25
จำนวนการผลิต :
ปีที่ผลิตจำนวน
2553150,000

ผู้ออกแบบด้านหน้า นายชาตินันท์ จิวาลักษณ์
ผู้ออกแบบด้านหลัง นายชาตินันท์ จิวาลักษณ์
ผู้ปั้นแบบด้านหน้า นายทัศวงศ์ โยเซฟ
ผู้ปั้นแบบด้านหลัง นายทรงวุฒิ คงวัน

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากกรมธนารักษ์


รูป ใน Lomacoin Fanpage ,blogger.com , Line , Web และอื่นๆ ที่เผยแพร่เราจะพยายามไม่ใส่ลายน้ำบนเหรียญ เพื่อความสวยงามในการรับชม รบกวนใครนำรูปไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Web , Facebook และอื่นๆ ขอความกรุณาใส่เครดิต " Lomacoin " ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น